สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
รายละเอียดหลักสูตร
อาจารย์ประจำสาขาวิชา
ตัวอย่างรายวิชา
 
   
     
  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)  
     
 
ชื่อปริญญาและอักษรย่อ
   

ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การแพทย์)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (วิทยาศาสตร์การแพทย์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Medical Science)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Medical Science)

  ปรัชญา
         ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีทักษะด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่พร้อมปฏิบัติงานในวิชาชีพ พยาธิวิทยากายวิภาค จุลชีววิทยาทางการแพทย์ และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชน
  ความพิเศษของหลักสูตร
         หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติตามอัตลักษณ์ของวิทยาลัยนครราชสีมา โดยมีทักษะในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยากายวิภาค และห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาทางการแพทย์ทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อผลิตนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิชาการ และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีทักษะที่หลากหลาย และมีความจำเพาะต่อการตรวจวิเคราะห์ให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ
  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
   

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะดังต่อไปนี้

  • มีวินัย ตรงต่อเวลา ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นพลเมืองที่เข้มแข็งมีความกล้าหาญทางจริยธรรม และรักษ์ความเป็นไทย 
  • มีความรู้ ความเข้าใจหลักการและทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ มีความรู้ในด้านคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ
  • มีความสามารถคิด วิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ สามารถวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้วิธีการหรือเครื่องมือที่เหมาะสมในการวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจต่างๆ ได้ ตระหนักถึงความสำคัญของการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม
  • มีความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถจัดการทีมให้ทำงานบรรลุตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ องค์กร และเพื่อนร่วมงานได้อย่างเหมาะสม และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อสังคม และความรับผิดชอบในการพัฒนาความรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
  • มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีความเหมาะสม สามารถใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับสืบค้น รวบรวมประมวลผล แปลความหมายและนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม และสามารถใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อสารทั้งการพูดการฟัง และการเขียน และเลือกใช้รูปแบบของการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
  • มีทักษะในการใช้ และดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่างๆ มีความสามารถในการเตรียมตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์ และแปลผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การแพทย์
  เรียนอะไรบ้าง
   
  • กลุ่มพยาธิวิทยากายวิภาค : ศึกษาโครงสร้างร่างกายของมนุษย์จากร่างอาจารย์ใหญ่ ระบบอวัยวะ เนื้อเยื่อ และกลไกการทำงานของระบบต่างๆ ตลอดจนกระบวนการเกิดโรคและพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อที่เป็นผลมาจากโรคต่างๆ หรือสาเหตุของการเสียชีวิต ฝึกทักษะในการผ่าชำแหละร่างกายมนุษย์ การตัดและย้อมชิ้นเนื้อเยื่อเพื่อชันสูตรโรค การทำงานในห้องปฏิบัติการนิติพยาธิ พยาธิกายวิภาค เป็นต้น
  • กลุ่มจุลชีววิทยาทางการแพทย์ : ศึกษาจุลินทรีย์ที่พบในสิ่งแวดล้อม อาหาร หรือเครื่องดื่ม ทั้งที่ไม่ก่อโรคและก่อโรคในมนุษย์ การติดเชื้อ การระบาด ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและการตอบสนองต่อการติดเชื้อต่างๆ ฝึกทักษะในการเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ และการตรวจสอบเชื้อปนเปื้อนในสิ่งส่งตรวจจากมนุษย์ อาหาร เครื่องดื่ม หรือสิ่งแวดล้อม
  • กลุ่มเทคโนโลยีดีเอ็นเอ : โครงสร้าง หน้าที่ และกลไกต่างๆ ในระดับโมเลกุล เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ พันธุวิศวกรรม Bioinformatics การตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม การตรวจวิเคราะห์สิ่งปนเปื้อนทางชีวภาพ งานทางการแพทย์และงานนิติวิทยาศาสตร์ ฝึกทักษะที่ใช้ในการทำงานห้องปฏิบัติการเวชพันธุศาสตร์และอณูชีววิทยา
  แนวทางการประกอบอาชีพ
   
  • นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทางด้านพยาธิวิทยากายวิภาค ด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์ นักวิจัยและผู้ช่วยวิจัยทางการแพทย์ 
  • นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจในสถานพยาบาลทั้งภาครัฐ และเอกชน
  • ครู อาจารย์ นักวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพหรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ผู้ประกอบธุรกิจวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตัวแทนจำหน่ายยา สารเคมี เครื่องมือทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ต่างๆ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
   
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ (วิทย์-คณิต / ศิลป์) ปวช. หรือ ปวส.
  • มีเกรดเฉลี่ย 2.00 หรือ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการการสอบ
  • มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  • มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่วิทยาลัยนครราชสีมากำหนด
ระยะเวลาในการศึกษา
   

ระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
   

ค่าเทอม 40,000 บาท/เทอม (สามารถกู้ กยศ. และ กรอ. ได้ 100%)
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 320,000 บาท

 
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรเพิ่มเติม
    สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
    290 หมู่ 2 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
    โทร. 044-466050 ต่อ 161
    อ.สุธิดา พื้นแสน (อ.ปุย) 086-2392634
    FB: NMC Medical Science / สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์
     
   
 
 
     
  คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
    290 หมู่ 2 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 044 466050 ต่อ 161
อีเมล: ahs@nmc.ac.th
     
   
 
 
  จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
0022941